ยินดีต้อนรับเข้าสู่ http://newsofthethaipeople.blogspot.com/

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล๊อค ข่าวคราวชาวไทย



ซึ่ง บล๊อค นี้ได้สร้างขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ข่าวคราวของคนไทย

และได้มีการอั๊พเดตข่าวใหม่ๆทั่งข่าวสุขภาพ,ข่าวการศึกษา

รวมทั้งข่าวการเคลื่อนไหวต่างๆของคนไทยในสมัยปัจจุบัน...

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โทษคูณ2 ทั้งแพ่ง อาญา..กฎหมายชี้ชะตาขับรถชนคนตาย

โทษคูณ2 ทั้งแพ่ง อาญา..กฎหมายชี้ชะตาขับรถชนคนตาย

Pic_137795




นับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุรถเก๋งชนรถตู้จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายเมื่อคืนวันที่ 27 ธันวาคม 2553 กระแสสังคมต่างออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กันอย่างหนาหู หลายตา ทั้งทางเว็บไซด์ชื่อดังต่างๆ และการพูดปากต่อปากเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ว่าผลลัพธ์ที่ออกมา ใครกันที่ผิด และสมควรจะต้องชดใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้น
เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้เกิดการณ์สุดสลดแบบนี้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะกับครอบครัวไหนก็ตาม แต่ในเมื่อมันแจ่มแจ้งแดงแจ๋เต็มถนนขึ้นมาขนาดนี้แล้ว ก็ต้องดูกันต่อไปว่าสุดท้ายแล้ว สิ่งที่ครอบครัวผู้เสียชีวิตทั้ง 8 รายต้องสูญเสียไปนั้น กฎหมายจะดำเนินการอย่างไร เพื่อเป็นการชดใช้ให้กับทุกๆ ท่านอย่าง 'ยุติธรรม'..  

วันนี้ ' ไทยรัฐออนไลน์' เลยขอไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกฎหมายทั้งทางแพ่ง และอาญา จากอุบัติเหตุครั้งนี้  โดย รศ.ดร.เจษฎ์  โทณวณิก นักวิชาการด้านกฎหมาย


การขับรถชนคนตาย มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง

"การขับรถชนคนตายนั้นในทางอาญาจะเป็นโทษว่าด้วยเรื่องของการกระทำโดยประมาทให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย  ซึ่งมีอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้วครับ แต่นอกจากนี้จะมีโทษตามพระราชบัญญัติจราจรเข้ามาด้วย ซึ่งจะเป็นเรื่องของการขับรถโดยประมาท แต่ก็ต้องดูด้วยว่าผู้กระทำผิดนั้นมีอาการเมาสุราด้วยหรือเปล่า ซึ่งถ้าเมาสุราด้วยก็รับโทษจำคุก 7-15 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าไม่มีเรื่องสุรามาเกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติจราจร ไม่ต้องรับโทษจำคุกครับ รับโทษทางอาญาอย่างเดียว ซึ่งถ้าในกรณีที่ผู้กระทำผิด ไม่มีใบขับขี่ด้วย ก็ต้องเพิ่มโทษอีก 1 กระทงครับ"
เมื่อรับโทษทางอาญาแล้ว ในส่วนของโทษทางแพ่งเป็นอย่างไร

"มันต่อเนื่องจากทางอาญาครับ โทษอาญาจะมี 3 อย่างคือ 1. ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต 2. ทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ และ 3. ทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ในทางแพ่งก็จะเชื่อมโยงกัน คือ 1. ค่าเสียหายที่เกิดจากการทำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต 2. ค่าเสียหายและเยียวยาที่เกิดจากการทำให้บาดเจ็บ และ 3. ค่าเสียหายจากการทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ครับ แต่สุดท้ายแล้วเราต้องดูอายุของผู้กระทำผิดด้วยว่าถ้าต่ำกว่า 17 ปี ก็จะมีเหตุลดโทษต่างๆ เพราะการพิจารณาโทษในแต่ละอายุจะต่างกัน อย่างสมมติว่ามีโทษจำคุก แต่ยังเป็นเยาวชนอยู่ ก็ต้องไปที่สถานพินิจเด็กและเยาวชนแทน ซึ่งจะชดใช้เท่าไหร่ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าผู้เสียหายนั้น เขาเสียหายมากน้อยแค่ไหน ต้องพิจารณาตามที่เขาเสียหายจริง อย่างกรณีอุบัติเหตุครั้งนี้ถ้านับเฉพาะผู้เสียชีวิตก็ 8 คน ก็ต้องคำนวณของแต่ละคนไป ซึ่งมีผู้บาดเจ็บด้วยก็ต้องคำนวณชดใช้ให้เขาด้วย"




ในส่วนของกฎหมายทางแพ่ง ผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะต้องได้รับการชดใช้อย่างไรบ้าง

"ระหว่างทางอาญาจะเชื่อมโยงกับทางแพ่งอย่างที่บอกไป แต่อย่างกรณีนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 8 ศพ และผู้บาดเจ็บด้วย ก็ต้องชดใช้ในทางแพ่งแต่ละคน ยกตัวอย่างของ ดร.ศาสตรา เช้าเที่ยง เขาเรียนจบปริญญาเอก ใช้ทุนรัฐบาลเรียนไปยังไม่ได้ใช้หนี้ทุนเลย ก็ต้องคำนวณว่าจริงๆ ถ้าเขายังอยู่จะสามารถใช้หนี้ให้รัฐได้เท่าไหร่ ทำประโยชน์ให้กับประเทศได้เท่าไหร่ และให้ส่วนของการเลี้ยงดูพ่อแม่เท่าไหร่ เป็นเวลานานแค่ไหน ซึ่งเขาไม่อยู่แล้วจะทำไง  แต่โดยหลักการพิจารณาของศาลไทย โดยทั่วไปไม่ค่อยปรับเยอะ ถึงต้องมีการคำนวณเพื่อชดใช้ให้ค่าเสียโอกาส และค่าอนาคตมากขึ้น ยกตัวอย่างถ้าหมอไปทำลูกเขาตาย การพิจารณาคดีไม่ได้จบแค่พ่อแม่จะคิดว่าเสียหายแค่ไหน ศาลจะพิจารณาต่อว่าในอนาคต ถ้าเด็กคนนี้เติบโตขึ้น จะทำอะไรได้บ้าง ซึ่งก็เคยมีคดีที่ได้รับการชดใช้ไปหลายล้านเหมือนกัน
ผู้บาดเจ็บก็ต้องได้รับการรักษาค่าพยาบาลเต็ม ที่คำนวณง่ายที่สุดก็ค่ารักษาเท่าไหร่ก็จ่ายตามนั้นเลย ส่วนค่าทำขวัญก็ต้องให้ไปตามอาการ ความเสียหายของร่างกายผู้บาดเจ็บ ส่วนรถตู้ที่พังก็ต้องชดใช้ให้กับเจ้าของด้วย"


จากกรณีดังกล่าว ใครที่ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบระหว่างรถเก๋งกับรถตู้

"ต้องดูตามความเป็นจริงครับ ผมอยากให้ทุกฝ่ายตอนนี้พินิจพิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อยากให้ผู้เชี่ยวชาญดูกล้องวงจรปิด และวิเคราะห์ด้วยความรู้ที่มีอยู่ ว่าลักษณะของอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อความเป็นธรรมของทั้งสองฝ่าย ซึ่งถ้าดูแล้วรถเก๋งเป็นฝ่ายผิดก็ต้องรับผิดคนเดียวเต็มๆ ครับ ถ้ารถตู้เป็นฝ่ายผิด ก็ต้องรับผิดชอบเหมือนกัน แต่ถ้าผิดทั้งคู่ก็ต้องรับโทษร่วมกัน ก็ตัดสินลดหลั่นกันไปดูว่าใครที่ประมาทมากกว่า ก็จะต้องรับมากกว่าครับ"
ชีวิตอาจแลกด้วยเงินไม่ได้ แต่เชื่อว่ากฎหมาย และความยุติธรรมคงสามารถไขความกระจ่างให้กับสังคมได้ ความจริงยังไงก็คือความจริง ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายที่กระทำผิดก็ตาม.

 
@@@@@@@@@

ที่มา—>http://www.thairath.co.th/

2 ความคิดเห็น:

  1. หากข้อมูลนี้ผิดพลาดอะไรไป

    ก็....ขอ อภัย มา ณ ที่นี้ ด้วยครับ

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. หากอ่านแล้ว เป็นประโยชน์ต่อท่าน

    ทางเราก็จะดีใจมากๆ

    ***หากท่านมีความคิดเห็นหรือข้อมูลอะไรดีๆอยากจะแบ่งปัน

    ก็เชิญ แสดงความคิดเห็นหรือข้อติืชม ได้ตามสบาย

    หากเป็นคำชมเราก็จะดีใจมาก

    หากเป็นคำแนะนำ หรือข้อเสนอ หรือข้อผิดพลาด
    ทางเราจะรีบแก้ไขให้ท่านโดยด่วน

    ขอขอบพระคุณทุกๆการแสดงความคิดเห็น มากๆครับ

    ขอบคุณครับ ^^

    ตอบลบ